วันศุกร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556


ความสำคัญของวัฒนธรรมไทย

คำว่า  วัฒนธรรม  เป็นภาษาบาลีและสันสกฤต "วัฒน" เป็นภาษาบาลี  แปลว่า"เจริญงอกงาม"  ส่วนคำว่า "ธรรม" เป็นภาษาสันสกฤต  หมายถึง  "ความดี"  ซึ่งถ้าแปลตามรากศัพท์ก็คือ  "สภาพอันเป็นความเจริญงอกงามหรือลักษณะที่แสดงถึงความเจริญงอกงาม"


วัฒนธรรมเป็นวิถีชีวิตหรือการดำเนินชีวิตของกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง  ซึ่งหมายรวมถึงความคิด  ศิลปะ  วรรณคดี  ดนตรี  ปรัชญา  ศีลธรรม  จรรยา  ภาษา  กฎหมาย  ความเชื่อ  ขนบธรรมเนียมประเพณีและสิ่งต่างๆที่มนุษย์สร้างขึ้น  ซึ่งได้ถ่ายทอดให้กับคนรุ่นต่อๆมา เป็นเรื่องของการเรียนรู้จากคนกลุ่มหนึ่งไปยังคนอีกกลุ่มหนึ่ง  ซึ่งถ้าสิ่งใดดีก็เก็บไว้  สิ่งใดควรแก้ก็แก้ไขกันให้ดีขึ้น  เพื่อจะได้ส่งเสริม ให้มีลักษณะที่ดีประจำชาติต่อไป  ในลักษณะนี้วัฒนธรรมจึงเป็นการแสดงออกซึ่งความเจริญงอกงาม  ความเป็นระเบียบเรียบร้อย  และศีลธรรมอันดีงามของประชาชน

สรุปแล้ว  วัฒนธรรมคือการดำเนินชีวิตของคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งที่แสดงออกถึงความเจริญงอกงาม  ความเป็นระเบียบเรียบร้อย  ความกลมเกลียว  ความก้าวหน้า  และศีลธรรมของประชาชน  


วันวิสาขบูชา
     ความหมาย คำว่า "วิสาขบูชา" หมายถึงการบูชาในวันเพ็ญเดือน ๖   วิสาขบูชา ย่อมาจาก " วิสาขปุรณมีบูชา " แปลว่า " การบูชาในวันเพ็ญเดือนวิสาขะ " ถ้าปีใดมีอธิกมาส คือ มีเดือน ๘ สองหน ก็เลื่อนไปเป็นกลางเดือน ๗
     ความสำคัญ วันวิสาขบูชา เป็นวันสำคัญยิ่งทางพระพุทธศาสนา เพราะเป็นวันที่พระพุทธเจ้าประสูติ คือเกิด  ได้ตรัสรู้ คือสำเร็จ  ได้ปรินิพพาน คือดับขันธ์ เกิดขึ้นตรงกันทั้ง ๓ คราว คือ    
     ๑. เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะ ประสูติที่พระราชอุทยานลุมพินีวัน ระหว่างกรุงกบิลพัสดุ์กับเทวทหะ เมื่อเช้าวันศุกร์ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ปีจอ ก่อนพุทธศักราช ๘๐ ปี
     ๒. เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะ ตรัสรู้ เป็นพระพุทธเจ้าเมื่อพระชนมายุ ๓๕ พรรษา ณ ใต้ร่มไม้ศรีมหาโพธิ์ ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม ในตอนเช้ามืดวันพุธ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ปีระกา ก่อนพุทธศักราช ๔๕ ปี หลังจากออกผนวชได้ ๖ ปี ปัจจุบันสถานที่ตรัสรู้แห่งนี้เรียกว่า พุทธคยา เป็นตำบลหนึ่งของเมืองคยา แห่งรัฐพิหารของอินเดีย
     ๓. หลังจากตรัสรู้แล้ว ได้ประกาศพระศาสนา และโปรดเวไนยสัตว์ ๔๕ ปี พระชนมายุได้ ๘๐ พรรษา ก็เสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน เมื่อวันอังคาร ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ปีมะเส็ง ณ สาลวโนทยาน ของมัลลกษัตริย์ เมืองกุสินารา แคว้นมัลละ (ปัจจุบันอยู่ในเมือง กุสีนคระ) แคว้นอุตตรประเทศ ประเทศอินเดีย
     นับว่าเป็นเรื่องที่น่าอัศจรรย์ยิ่ง ที่เหตุการณ์ทั้ง ๓ เกี่ยวกับวิถีชีวิตของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งมีช่วงระยะเวลาห่างกันนับเวลาหลายสิบปี บังเอิญเกิดขึ้นในวันเพ็ญเดือน ๖  ดังนั้นเมื่อถึงวันสำคัญ เช่นนี้ ชาวพุทธทั้งคฤหัสถ์ และบรรพชิตได้พร้อมใจกันประกอบพิธีบูชาพระพุทธองค์เป็นการพิเศษ เพื่อน้อมรำลึกถึงพระกรุณาธิคุณ พระปัญญาธิคุณ และพระบริสุทธิคุณ ของพระองค์ท่าน ผู้เป็นดวงประทีปของโลก



คุณธรรมจริยธรรม



การปลูกฝังคุณธรรม  จริยธรรมให้แก่นักศึกษา
สถานการณ์บ้านเมืองของประเทศไทยเราในปัจจุบันนี้  ดูน่าเป็นห่วง   อย่างยิ่ง ไม่ว่าจะเป็นวิกฤตทางเศรษฐกิจ   ปัญหาความเสื่อมถอยในด้าน คุณธรรม  จริยธรรมของคน ทั้งในระดับนักการเมือง  ข้าราชการ  หรือ คนในแวดวงอาชีพอื่นๆ  ภาพที่เห็นชัดเจนและเป็นข่าวอยู่ทุกวัน ก็คือ  การทุจริตคอรัปชั่น  การก่ออาชญากรรม   การเสพและการค้ายาเสพติด  ซึ่ง แพร่ระบาดในกลุ่มเยาวชนไทย  ตั้งแต่ระดับประถมศึกษา จนถึง อุดมศึกษา  รวมถึงการแต่งกายล่อแหลม ที่เป็นมูลเหตุก่อให้เกิดอาชญากรรม ทางเพศ ของนักศึกษาหญิง   การขายบริการทางเพศของนักศึกษา   การที่นักศึกษาอยู่ร่วมกันฉันท์สามีภรรยา  การทะเลาะวิวาทของนักศึกษาทั้งภายในสถาบันเดียวกันและต่างสถาบัน  เหล่านี้เป็นต้น
ปัญหาที่เกิดขึ้นในกลุ่มของเยาวชนดังกล่าว  ทุกคนต่างลงความเห็นตรงกันว่า  เยาวชนไทยของเราขาดการปลูกฝังในด้าน คุณธรรม  จริยธรรม อย่างยั่งยืน  คือ อาจจะมีอยู่บ้างแต่เป็นแบบฉาบฉวย  ไม่เกิดผลที่ถาวรในขณะที่สังคมไทยต้องการเห็นภาพการพัฒนาเยาวชนไทยไปสู่การเป็นบัณฑิตที่มีคุณภาพ มีความสมบูรณ์ ทั้งร่างกายและจิตใจ  มีสติ  ปัญญา  มีความรู้และคุณธรรม  มีจริยธรรมและวัฒนธรรม  ในการดำรงชีวิต  สามารถอยู่ร่วมกับ ผู้อื่นได้ อย่างมีความสุข    มีรายงานผลการสำรวจของผู้ที่ถูกให้ออกจากงาน เฉพาะในกรณีที่เกี่ยวกับคุณสมบัติของตัวพนักงานเอง  พบว่า  17 % ถูกให้ออกงานเพราะ ขาดทักษะความรู้และประสบการณ์     83 %  ถูกออกจากงานเพราะปัญหาเรื่อง ความประพฤติ และบุคลิกภาพ   ในขณะเดียวกันมีผู้ไปสำรวจความคิดเห็นของผู้ประกอบการ ในการพิจารณารับคนเข้าทำงาน ในหน่วยงาน  องค์กร  สถาบันต่างๆ พบว่า   ผู้ประกอบการส่วนมากต้องการบัณทิต ที่มีคุณลักษณะดังนี้      ขยัน       ประหยัด       ซื่อสัตย์       อดทน       เสียสละ   และ มีความรับผิดชอบ    ซึ่งปรากฏการณ์ในสังคม    ดังกล่าวมานี้เป็นผลโดยตรง  มาจากเรื่องของการปลูกฝัง ทางด้านคุณธรรม  จริยธรรม นั่นเอง